ผมร่วง (Hair loss)
เป็นเรื่องปกติไหม ?
โดยปกติแล้วมนุษย์มีเส้นผมบนหนังศีรษะมากกว่า 100,000 เส้น และมีวงจรชีวิตที่สร้างผมเส้นใหม่ได้เรื่อย ๆในแต่ละวันจึงมีผมร่วงประมาณ 50-100 เส้นได้เป็นปกติ แต่เมื่อคุณเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 30 ปี วงจรชีวิตเส้นผมจะเริ่มสั้นลง รากผมไม่แข็งแรง จึงเกิดผมร่วงถี่ขึ้น และสร้างผมเส้นใหม่ไม่ทัน
อาการของ ผมร่วง
เส้นผมหลุดร่วงมากกว่า 100 เส้น/วัน ติดต่อกันนานหลายวัน แสดงว่ามีเริ่มผมร่วงมากกว่าผิดปกติ ผมบางมีทั้งระดับที่พบได้ทั่วไป และแบบที่ผิดปกติ โดยอากาที่มักพบได้ทั่วไปนั้น ผู้ชาย จะมีการเว้าแหว่งบริเวณด้านหน้า เป็นรูปตัว M และบริเวณกลางหนังศีรษะ
ทำความรู้จักกับรากผม
รากผม (hair root) เป็นส่วนหนึ่งของเส้นผมโดย มีส่วนที่ติดกับเส้นเลือดฝอย ที่เรียกว่า Hair Bulb ทำหน้าที่ลำเลียงและดูดซึมสารอาหารเพื่อช่วยในการแบ่งตัวและสร้างเซลล์ใหม่ การที่รากผมฝ่อหรือไม่แข็งแรงนั้นทำให้ไม่สามารถลำเลียงสารอาหารให้เพียงพอต่อการสร้าง
ผมบาง ผมร่วง รากผมไม่แข็งแรง
มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?
ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน เกิดได้ในทุกคนทุกเพศ ทุกวัย โดยปัจจัยที่พบได้บ่อย
ปัญหานี้สามารถพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เซลล์ต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพ เช่นเดียวกับเซลล์รากผมที่มีขนาดเล็กลง และเกิดการเสื่อมสภาพไปตามวัย
- ฮอร์โมน DHT หรือฮอร์โมนเพศชายต่ำ
เป็นฮอร์โมนที่พบได้มากในผู้ชายที่สร้างขึ้นจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมน DHT ทำหน้าที่ในการควบคุมการเกิดของเส้นผม ขน หนวด เครา หรือสร้างลักษณะเด่นของเพศชาย แต่หากฮอร์โมน DHT นี้มีความแปรปรวนหรือผิดปกติ จะทำให้รากผมมีการฝ่อตัวลง
- ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์
หามีการสร้างฮอร์โมนผิดปกติไม่สมดุลจะมีผลทำให้ร่างกายขับไขมันผ่านทางผิวหนังมากขึ้น หนังศีรษะมันและรากผมอ่อนแอ การเจริญเติบโตของเส้นผมผิดปกติ
- ฮอร์โมน Insulin
เมื่อระดับของฮอร์โมน Insulin ไม่เพียงพอหรือสูงมากเกินไปจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ส่งผลให้สารอาหารและออกซิเจนที่นำไปหล่อเลี้ยงเส้นผมนั้นไม่เพียงพอ เกิดเซลล์รากผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน
โดยปกติแล้วฮอร์โมน Estrogen ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นผมให้แข็งแรง เงางาม ลดการหลุดร่วง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Estrogen เช่น ภาวะหลังคลอดบุตร, วัยหมดประจำเดือน, การเลิกใช้ยาคุมกำเนิด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน Estrogen ได้น้อยลง ทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง ผมเริ่มบาง มีความแห้ง ชี้ฟู อ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การใช้ความร้อนต่อเส้นผมเป็นเวลานาน , การทำเคมี ดัด ย้อมสีผม
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
- ความเครียดสะสม, ภาวะซึมเศร้า
- การรับประทานอาหาร
วิธีกาแก้ไข รักษา
ผมร่วง ผมบาง
1. การใช้ยาและวิตามิน
- ยา PDE5 Inhibitors: หรือที่รู้จักในชื่อ ไวอากร้า ยากลุ่มนี้ช่วยให้อวัยวะเพศคงแข็งตัวได้นานขึ้น จริงๆแล้วมีหลายชนิด และมีข้อบ่งใช่ที่แตกต่างกัน
- กลุ่ม Sildenafil ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อให้เลือก เช่น Sidegra, Elonza, Viagra เป็นต้น
- กลุ่ม tadalafil ยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เช่น Talafil , Cialis
- กลุ่ม Vardenafil และ Avanafil โดย2กลุ่มนี้ยังไม่มีจำหน่ายในไทย
- ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) : การให้ฮอร์โมนเสริมจะช่วยใหเภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
- ยา Dapoxetine : เป็นยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors/SSRI) หรือชื่อการค้า Priligy เป็นยาที่ใช้รักษาอาการหลั่งเร็วของผู้ชาย
- การใช้ยาฉีด Botox/PRP : เป็นการฉีดสารที่ช่วยบำรุงและกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวได้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้ PRP หรือ Botox เป็นต้น
2. การบำรุงรากผมด้วย Exosome
เป็นวิธีการเติมสารอาหารให้สามารถไปบำรุงเลี้ยงรากผมได้อย่างเต็มที่มากที่สุด โดยการใช้ Exosome ซึ่งเป็นสารโปรตีนขนาดเล็ก ภายในจะบรรจุสารชีวโมเลเกุลมากมาย อาทิเช่น Cytokines, Growth factors, Micro RNA ซึ่งจำเป็นต่อการฟื้นฟูรากผม มากกว่า PRP ถึง 1,000 เท่า ทำให้เกิดการกระตุ้น ฟื้นฟู และมีการซ่อมแซมเซลล์รากผมได้อย่างดีเยี่ยม
ข้อดีของ Exosome คือ
-ตัวยาสามารถดูดซึมได้เต็มที่ และมีสารที่เพียงพอต่อการบำรุง
-ประสิทธิภาพสูง เห็นผลชัดเจน
–เจ็บน้อย ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อนำมาใช้แบบ PRP
3. การบำรุงรากผมด้วย PRP( Platelet Rich Plasma)
PRP (Platelet Rich Plasma) คือ การปั่นแยกเอาเกล็ดเลือดและGrowth factor จากเลือด มาฉีดบริเวณศรีษะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผมทำให้เซลล์รากผมทำงานได้ดีมากขึ้น
ข้อเด่นคือ ทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังทำ และโอกาสแพ้น้อยมากเนื่องจากเป็นการนำเลือดของคนไข้มาใช้เอง
ข้อด้อย
– ต้องเจ็บตัวหลายครั้งเนื่องจากต้องเจาะเลือด
-ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ อยู่ในระหว่างรับประทานยาบางชนิด โดยผู้ที่ไม่สามารถทำ PRP ผมได้ ได้แก่
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือ ละลายลิ่มเลือด
- ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง หรือ ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคเลือด เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำ
- โรคผิวหนังที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อบริเวณ ศีรษะ เช่น เป็นเชื้อรา
4. โปรแกรมรักษาผมร่วง
การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่มาของการเกิดรากผมฝ่อ ทำให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด โดยโปรแกรมการรักษาผมร่วง anti hair loss ของ Lover clinic จะช่วยดูแลอย่างครบวงจร ให้ผมงอกเร็วและป้องกันการหลุดร่วงอย่างเห็นผล
5. การปลูกผม
การปลูกผม เป็นหนทางรักษาที่ได้ผลเร็ว ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ แต่การปลูกผลมีข้อเสียหรือข้อจำกัดหลายประการ
- ราคาสูง
- จำเป็นต้องใช้ยาชา และมีแผลบริเวณศีรษะ
- ช่วงพักฟื้นจะนอนได้ลำบากกว่าปกติ
- หากผมบางทั้งศีรษะ หลังปลูกผมจะไม่ได้ขึ้นอย่างหนาแน่น
- หลังปลูกผม หากดูแลไม่ดีผมก็บางได้เหมือนเดิม