ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
(Erectile Dysfunction)
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ชายหลายคนได้ทุกช่วงอายุของชีวิต โดยในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึงร้อยละ 43 และในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 52
อาการของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้เลย
อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเลยทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
อวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้แต่ไม่ยาวนาน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมากหรือการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์แรกหลังการทำหมัน เพื่อให้แผลยุบตัวได้ดี ลดอาการบวมของแผล
ภาวะหลั่งเร็ว
คือภาวะที่ผู้ชายไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราการหลั่งของผู้ชายหลังจากเริ่มสอดใส่จะอยู่ที่ประมาณ 5-7 นาที หากสังเกตว่าตนเองใช้ระยะเวลาน้อยกว่านั้น หรือหลั่งเร็วเกินไปในระยะเวลาเพียง 1-2 นาที รวมถึงการที่ไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้เท่าเวลาที่คู่นอนเสร็จกิจ ก็จะถือว่ามีอาการหลั่งเร็วด้วยเช่นกัน
ความต้องการทางเพศลดลง
ความต้องการทางเพศลดลงกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่มีความต้องการทางเพศเลย มักพบได้ในกลุ่มคนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
สาเหตุของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ปัญหาโรคประจำตัวต่างๆ
- โรคเบาหวาน: เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
- ความดันโลหิตสูง: สามารถทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนของเลือด จึงส่งผลต่อความสามารถในการแข็งตัว
- โรคหัวใจ: มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดและอัตราการไหลเวียนของเลือด
- ปัญหาฮอร์โมน: เช่น ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลต่อความต้องการทางเพศ
- ความเครียดและวิตกกังวล: สภาพจิตใจที่เครียดอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพได้
- ภาวะซึมเศร้า: นอกจากจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึก ยังมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศด้วย
- ปัญหาความสัมพันธ์: ความไม่พอใจหรือความขัดแย้งในความสัมพันธ์กับคู่รักอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- การสูบบุหรี่: ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
- การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป: อาจทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการแข็งตัว
- การขาดการออกกำลังกาย: ส่งผลทำให้สุขภาพโดยรวมไม่ดี
วิธีการรักษา
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสามารถทำได้หลายวิธี โดยขึ้นอยู่อาการที่แสดง สาเหตุ และความรุนแรงของปัญหา
1. การใช้ยา
- ยา PDE5 Inhibitors:หรือที่รู้จักในชื่อ ไวอากร้า ยากลุ่มนี้ช่วยให้อวัยวะเพศคงแข็งตัวได้นานขึ้น จริงๆแล้วมีหลายชนิด และมีข้อบ่งใช่ที่แตกต่างกัน
- กลุ่ม Sildenafil ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อให้เลือก เช่น Sidegra, Elonza, Viagra เป็นต้น
- กลุ่ม tadalafil ยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เช่น Talafil , Cialis
- กลุ่ม Vardenafil และ Avanafil โดย2กลุ่มนี้ยังไม่มีจำหน่ายในไทย
- ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) : การให้ฮอร์โมนเสริมจะช่วยใหเภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
- ยา Dapoxetine : เป็นยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors/SSRI) หรือชื่อการค้า Priligy เป็นยาที่ใช้รักษาอาการหลั่งเร็วของผู้ชาย
- การใช้ยาฉีด Botox/PRP : เป็นการฉีดสารที่ช่วยบำรุงและกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวได้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้ PRP หรือ Botox เป็นต้น
2. การบำบัดทางจิตใจ
- การบำบัดทางเพศ: การพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์และความสัมพันธ์อาจช่วยลดความวิตกกังวล
- การสนทนาที่เปิดกว้างกับคู่รัก: การสื่อสารที่ดีสามารถช่วยสร้างความเข้าใจและทำให้เกิดความสะดวกสบาย
3. วิธีการอื่นๆ
- การใช้อุปกรณ์: เช่น วงแหวน หรือ กระบอกสุญญากาศ ช่วยรักษาอาการแข็งตัวและเพิ่มขนาด
- Shockwave : การใช้คลื่นกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทำให้เกิดการขยายและสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่ ส่งผลให้ตื่นตัวและเพิ่มขนาดน้องชายให้แข็งตัวได้ดีขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเนื่องจากโดยไม่ต้องใช้ยาชา ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บขณะทำ และมีงานวิจัยพบว่าหลังการรักษาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยอวัยวะเพศแข็งตัวได้จนสามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้
4. การรักษาด้วยการผ่าตัด
- หากการรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผล อาจมีความจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม , การผ่าตัดเส้นประสาทลดการหลั่งเร็ว เป็นต้น