หน้าที่ของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
ฮอร์โมนเพศชาย จะควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูก กล้ามเนื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง การลดลงของฮอร์โมนเพศชายจึงมีผลกระทบต่อร่างกายผู้ชาย โดยทั่วไปแล้วฮอร์โมนเพศจะค่อยๆ ลดลงตั้งแต่อายุ 40 ปีโดยปัจจัยที่สำคัญซึ่งทำให้ฮอร์โมนลดลงก่อนวัย คือ การไม่ได้ใจดูแลสุขภาพ และโรคประจำตัวต่างๆ
ใครสามารถ เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ได้บ้าง
การฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
ข้อดีของการให้ฮอร์โมนที่ Lover clinic
- เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์จากธรรมชาติ biosynthesis มีงานวิจัยรองรับ
- ผ่านการอนุมัติจาก องค์การอาหารและยา
- ดูแลและติดตามโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ
- ตรวจวัดผลเลือดที่เกี่ยวข้อง ทั้งก่อนและหลังให้ฮอร์โมน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันผลข้างเคียง
ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (hypogonadism)
หรือ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือ Hypogonadism คืออะไร
เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพอ เมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง ความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศลดลง และมีการผลิตอสุจิน้อยลงในเพศชาย
สาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
-อุบัติเหตุ/การบาดเจ็บบริเวณลูกอัณฑะ เช่น แผลบาดเจ็บ การทำหมัน การฉายรังสี หรือ การทำเคมีบำบัด การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
– ความผิดปกติททางด้านฮอร์โมนจากสมอง เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
-โรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไตเรื้อรัง ไขมันสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคเอดส์
-พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่
อาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
-อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ไม่กระฉับกระเฉง นอนไม่หลับ
-ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
-มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนอย่างปลอดภัย
- ควรตรวจสุขภาพและเจาะเลือดก่อนให้ฮอร์โมน
- ติดตามการรักษาและเจาะเลือดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องการผลข้างเคียงของยา
เลือกฮอร์โมนเพศชายแบบไหนดี ?
ปัจุบันรูปแบบการให้ฮอร์โมนมี 3 แบบ คือ แบบฉีด แบบกิน และแบบทา ดังนี้
ฮอร์โมนแบบฉีด
- ออกฤทธิ์ระยะสั้น
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
สามารถปรับขนาดยาได้ง่าย | ต้องมาฉีดบ่อยทุก2-3 อาทิตย์ |
ผลข้างเคียงน้อยเนื่องจากฮอร์โมนไม่สวิงมาก | |
ราคาไม่แพง |
- ออกฤทธิ์ระยะยาว
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
ไม่ต้องฉีดบ่อย | ไม่สามารถปรับขนาดยาได้ดีเท่าแบบสั้น |
ระดับฮอร์โมนไม่เหวี่ยง | ช่วงท้ายๆของแต่ละรอบอาจมีระดับฮอร์โมนต่ำได้ |
ช่วงแรกอาจมีผลข้างเคียงได้บ่อย | |
ราคาสูง |
ฮอร์โมนแบบทา หรือแบบเจล
ออกฤทธิ์ระยะสั้นประมาณ24 ชั่วโมง โดยจะต้องทายาทุกวัน และต้องทาบริเวณที่ไม่ได้ไปสัมผัส บริเวณที่ไม่ได้มีขนปกคลุมมาก ๆ เช่น บริเวณหน้าท้อง เพื่อให้ตัวยาดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ดี
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
สะดวก ไม่เจ็บตัว | ต้องทาทุกวัน |
สามารถทาได้เอง ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล | ต้องทาอย่างถูกวิธีซึ่งอาจใช้เวลา |
ราคาสูง |
ฮอร์โมนแบบกิน
ต้องกินยาต่อเนื่องทุกวัน และต้องกินครั้งละหลายเม็ดหากต้องการให้ยาออกฤทธิ์เท่ายาฉีด แต่เนื่องจากตัวยามีผลข้างเคียงโดยเฉพาะตับ และต้องใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ จึงไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน